Breaking News
Home / Business & Marketing / Case Study: โชนันโกเซอิ มั่นใจอุปกรณ์จาก RICOH ลดขั้นตอนการทำงาน หมดห่วงเรื่องความยุ่งยากด้านงานเอกสาร

Case Study: โชนันโกเซอิ มั่นใจอุปกรณ์จาก RICOH ลดขั้นตอนการทำงาน หมดห่วงเรื่องความยุ่งยากด้านงานเอกสาร

บริษัท โชนันโกเซอิ (ไทยแลนด์) จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตแม่พิมพ์ และนำแม่พิมพ์ฉีดชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ที่ทำโทรทัศน์ อุปกรณ์ภายในของเครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องพิมพ์

นอกจากนั้นแล้ว ยังผลิตงานให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ อาทิ ปุ่มกดเปิดปิดกระจก และอื่นๆ อีกมาก ครั้งนี้ทางเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณฐิตินันท์อร ศรีไสย์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและบัญชี บริษัท โชนันโกเซอิ (ไทยแลนด์) จำกัดเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทและข้อมูลต่างๆ ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของทาง RICOH

คุณฐิตินันท์อร เล่าให้ฟังว่า โชนันโกเซอิ นั้นเป็นโรงงานที่มีเครื่องจักรหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ดูแลด้านการฉีดงานพลาสติกให้กับลูกค้า ในส่วนประกอบต่างๆ ตามความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าที่กำหนดขึ้น สิ่งสำคัญของการทำงานตามออเดอร์หรือความต้องการของลูกค้าก็คือการรักษามาตรฐานให้มีคุณภาพดีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและส่งกลับคืน โดยในแต่ละปีนั้นบริษัทสามารถผลิตชิ้นงานต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมากมายหลายล้านชิ้น ตามประเภทและชนิดของสินค้าทั้งขนาดเล็กและใหญ่ โดยกำลังคนของพนักงานที่บริษัทรวมทั้งสิ้นแล้วประมาณ 260 ท่าน ซึ่งแบ่งเป็น 2 แผนก ได้แก่ แผนการสร้างแม่พิมพ์ และแผนกอินเจ็คชั่น (แผนกการฉีดพลาสติก)

แผนกการสร้างแม่พิมพ์ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่ผลิตแม่พิมพ์เพื่อส่งขายให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าจะนำแม่พิมพ์ดังกล่าวนั้นไปฉีดเองหรือขึ้นรูปเองก็ทำได้ และก็มีลูกค้าที่ส่วนใหญ่มักจะให้ โชนันโกเซอิ สร้างแม่พิมพ์และฉีดพลาสติกไปพร้อมกันด้วย

คุณฐิตินันท์อร บอกต่อไปว่า บทบาทของเธอในปัจจุบัน จะคอยดูแลเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารจัดการเป็นหลัก โดยดูแลงานทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น บัญชีการเงิน จัดซื้อ และการทำในส่วนของ BOI โดยงานที่เธอได้ทำนั้น จะเกี่ยวข้องกับงานเอกสารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการที่มีความรวดเร็วและถูกต้อง พร้อมกับโซลูชั่นต่างๆ ที่นำมาใช้งานต้องสนับสนุนการทำงานของบริษัทได้ดี

พบปัญหามากมายกับระบบเก่า

เธอกล่าวต่อไปว่า เมื่อ 6 -7 ปีที่แล้ว การพิมพ์เอกสารจะใช้เครื่องพิมพ์แยกออกเป็นแต่ละเครื่องแต่ละแผนก ซึ่งมีความยุ่งยากและมีปัญหามากมาย อีกทั้งเนื่องจากบริษัทได้ซื้อเครื่องพิมพ์มาเองและไม่มีเจ้าหน้าที่ไอทีประจำ ดังนั้นเวลาเครื่องพิมพ์เสียจึงต้องขอความช่วยเหลือจากช่างบางท่านมาแก้ไข บางเครื่องต้องเสียเวลาแก้ไขนานเป็นวัน และเมื่อมีเครื่องพิมพ์จำนวนเสียหายมากขึ้น ทำให้การซ่อมแซมมีราคาสูงและไม่คุ้มค่า จนบางครั้งต้องทิ้งไป

นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักๆ ให้ทางคุณฐิตินันท์อรได้มองหาโซลูชั่นใหม่ในการจัดการเรื่องงานเอกสาร ซึ่งก็ได้พบกับทางผลิตภัณฑ์ของ RICOH ซึ่งปรากฏว่าเข้ามาแก้ปัญหาให้กับทางโชนันโกเซอิได้เป็นอย่างมาก โดยเธอกล่าวว่า การเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ของ RICOH ทำให้ลดภาระการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ลงไป เพราะทีมงานจะเข้ามาดูแลและจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นให้ด้วยความรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วยังมีระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้า อย่างกรณีหมึกพิมพ์ใกล้หมด ทางทีมงาน RICOH จะรู้ล่วงหน้าแล้วเข้ามาเปลี่ยนให้ทันที ทำให้งานเอกสารต่างๆ ไม่ติดขัดแต่ประการใด

ผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ของ RICOH ที่ทางบริษัท โชนันโกเซอิ ใช้งานอยู่เป็นระบบหน้าจอสัมผัส (Smart Operation Panel) สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานในส่วนงานทั้งบนสำนักงาน และในส่วนของแผนกงานควบคุมคุณภาพ (Quality control : QC)ซึ่งแผนกนี้จะทำหน้าที่รับข้อมูลต่างๆ รวมทั้งรับงานจากลูกค้า ดังนั้นการรับส่งงาน หรือการสแกนงานจะมีเป็นจำนวนมากและสำคัญมากด้วยดังนั้นเอกสารจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจนด้วยเช่นกัน

ให้ความประทับใจและคุ้มค่า

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประทับใจกับทาง RICOH ก็คือ “การบริการ” ต้องยอมรับว่าผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันของ RICOH นั้นมีความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสแกนที่ทำด้วยความเร็วสูง ฟีเจอร์การถ่ายเอกสารแบบสองหน้า ฯลฯ และเมื่อผสานเข้ากับการบริการ ช่วยทำให้งานต่างๆ ของโชนันโกเซอิ เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ติดขัด หากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมาที่ต้องเสียเวลาในการแก้ปัญหาและซึ่งทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก แต่การบริการที่ดีจากทาง RICOH ช่วยลดปัญหาเหล่านี้และคอยอัพเดทข้อมูลให้ทาง โชนันโกเซอิ อย่างต่อเนื่องด้วย

ปัจจุบันคุณฐิตินันท์อร กล่าวว่าได้ใช้บริการ RICOH มากว่า 7 ปีแล้ว โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือปัญหาต่างๆ ที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากปัญหาของเครื่องพิมพ์รุ่นเก่าที่มีมานานนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด สามารถตอบโจทย์ความต้องการของบริษัทได้อย่างตรงจุด และนี่คือสิ่งที่องค์กรมองว่าคุ้มค่ามากที่สุด

Check Also

จดหมายชี้แจงเรื่องข่าวการปรับลดพนักงานโตชิบา ประเทศญี่ปุ่นไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจของโตชิบา ไทยแลนด์ 

ตามที่ได้มีรายงานข่าวเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 จากสำนักข่าวต่างๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย เกี่ยวกับข่าว “บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชัน จำกัด เตรียมปรับโครงสร้าง โดยมีแผนปรับลดจำนวนพนักงาน 5,000 คน หรือประมาณ 7% ของพนักงานในญี่ปุ่น” นี่เป็นอีกครั้งที่บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ขอเรียนชี้แจงว่า การปรับโครงสร้างดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบใดๆ กับการดำเนินธุรกิจของบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด แต่อย่างใด