Breaking News
Home / Tech Insight / แคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ให้เห็นถึงความอันตรายของความแตกแยกในโลกอินเทอร์เน็ต ในงาน APAC Cyber Security Summit ครั้งที่ 4

แคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ให้เห็นถึงความอันตรายของความแตกแยกในโลกอินเทอร์เน็ต ในงาน APAC Cyber Security Summit ครั้งที่ 4

ในงานประชุมประจำปี Kaspersky Lab APAC Cyber Security Weekend ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะเป็นผลมาจากบอลข่านไนเซชั่น (Balkanisation) ในโลกไซเบอร์ นั่นคือการแตกแยกของเวิลด์ไวด์เว็บ

งาน Kaspersky Lab APAC Cyber Security Weekend จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอประเด็นด้านความปลอดภัยไซเบอร์โดยนักวิจัยชั้นนำของบริษัทแก่สื่อมวลชนจาก 11 ประเทศจากทั่วภูมิภาค โดยในปีนี้จัดขึ้นในธีม “Balkanisation: Security Should Not Be in Isolation” ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของการโลกานิวัฒน์อินเทอร์เน็ต (de-globalisation of the internet) ควบคู่ไปกับภาพรวมภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ในเอเชีย

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เสียงก้องเตือนจากยูจีน แคสเปอร์สกี้ ซีอีโอของบริษัทนั้นทำให้เรารู้ว่า เมืองดิจิทัลระดับโลกที่ไร้พรมแดนในอุดมคตินั้นได้ใกล้ถึงจุดจบแล้ว หลายประเทศกำลังสร้างแนวป้องกันไซเบอร์ของตน อินเทอร์เน็ตที่ทุกคนเข้าถึงได้ฟรีในตอนแรกเริ่มนั้นปัจจุบันได้ถูกแบ่งและแยกตัวเป็นอิสระจากกัน ซึ่งอาจจะส่งผลดีกับบางประเทศในบางง่มุม แต่แน่นอนว่าอาชญากรไซเบอร์นั้นได้ประโยชน์เต็มๆ จากการมีอิสระในการปลดปล่อยภัยคุกคามทั่วโลก”

ภายในงานนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านจากทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก หรือทีม GReAT (Global Research and Analysis Team) ได้ชี้ให้เห็นถึงการโจมตีออนไลน์ที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นสถานการณ์ปัจจุบันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในภูมิภาคนี้

นายวิทาลี คัมลุก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้มาไขความกระจ่างเรื่องอนาคตของอินเทอร์เน็ตโดยอิงจากประสบการณ์การทำงานด้านวิเคราะห์มัลแวร์มายาวนานกว่า 13 ปี รวมถึงประเด็นกฎหมายในปัจจุบันและกระแสนิยมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของความปลอดภัยไซเบอร์ทั่วโลก

นายวิทาลี กล่าวว่า “จำนวนมัลแวร์ที่เราตรวจจับได้ในแต่ละวันนั้นมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อนาคตของอินเทอร์เน็ตมีความเปราะบางและการที่ประเทศต่างๆ ก็เร่งเสริมกำลังป้องกันตัวเอง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตบอลข่านไนเซชั่น อย่างไรก็ตามการแตกแยกนี้ไม่ใช่เกราะที่เราจะใช้ป้องกันตัวจากภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้ โปรดระลึกไว้ว่า โลกที่แตกแยกนั้นสามารถถูกพิชิตได้โดยง่าย เราจำเป็นต้องรวมตัวกัน ร่วมมือกัน และเชื่อใจกันเพื่อขัดขวางอาชญากรไซเบอร์ที่กระทำการร้ายโดยไม่คำนึงถึงเส้นพรมแดนหรือภูมิศาสตร์การเมืองใดๆ”

นายยูจีน แคสเปอร์สกี้ แลป ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้ระบุไว้ในบทความหนึ่งว่า บราซิลและเยอรมนีกำลังพิจารณาและอาจจะเริ่มดำเนินการตั้งหน่วยงานอิสระด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเน็ตเวิร์กคู่ขนานที่แยกตัวจากอินเทอร์เน็ต สำหรับใช้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับขั้นสูง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังร่างนโยบายเพื่อให้บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่างกูเกิ้ลและเฟซบุ๊กย้ายดาต้าเซ็นเตอร์ไปที่ประเทศนั้นๆ เพื่อป้องกันการสอดส่องและการรุกล้ำข้อมูลจากภายนอกประเทศ

นายยูจีนได้เน้นย้ำว่า บอลข่านไนเซชั่น (Balkanisation) และการปกป้องทางการค้า (Protectionism) ที่ประเทศต่างๆ กำลังดำเนินการอยู่นั้นจะไม่ก่อประโยชน์ให้ประเทศใดเลย นอกจากอาชญากรไซเบอร์เท่านั้น

สำหรับประเด็นเรื่องอนาคตของอินเทอร์เน็ตนี้ นายซองซู ปาร์ค นักวิจัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลป ซึ่งประจำอยู่ที่เกาหลี ได้เน้นความสนใจไปที่กลุ่มลาซารัส (Lazarus) กลุ่ม APT ชื่อก้องที่ใช้โค้ดภาษาเกาหลีในการสื่อสารทำงาน ลาซารัสได้ปล่อยปฏิบัติการโจมตีซัพพลายเชนปลอมเพื่อส่งมัลแวร์ไปยังดีไวซ์ในระบบวินโดวส์และ MacOS

นายซูกุรุ อิชิมารุ นักวิจัยด้านความปลอดภัย ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก แคสเปอร์สกี้ แลป ได้นำเสนอวิธีการที่ใช้วิเคราะห์มัลแวร์แอนดรอยด์และเปิดเผยกิจกรรมล่าสุดของโมบายมัลแวร์ชื่อโรมมิ่ง แมนทิส (Roaming Mantis) ซึ่งผู้โจมตีมีแรงจูงใจเป็นเม็ดเงินจากการแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังสมาร์ทโฟนทั่วเกาหลีใต้ บังคลาเทศ และญี่ปุ่นผ่านการไฮแจ็ค DNS ในช่วงต้นปีนี้

นอกจากนี้ นายแอนทอน ชินกาเรฟ รองประธานฝ่ายกิจการสาธารณะและหัวหน้าสำนักงานซีอีโอของแคสเปอร์สกี้ แลป ได้เน้นย้ำถึงความซื่อตรงและเชื่อถือได้ในแวดวงความปลอดภัยไซเบอร์ และนำเสนอแนวคิดด้านความโปร่งใสระดับโลก หรือ Global Transparency Initiative ของบริษัท

 

Check Also

Use Case การใช้ AI ในภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคอุตสาหกรรม สรุปจากงาน “Navigating AI Frontier”

ทีซีซี เทคโนโลยี (TCCtech) และเดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) (Dell Technologies) ร่วมกันจัดเวทีให้ความรู้ ภายใต้หัวข้อ “Navigating AI Frontier” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบัน IMC ผู้บริหารของ TCCtech และ เดลล์ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) เข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ์​การนำ AI ไปใช้งานในหลายอุตสาหกรรม อัพเดทผลิตภัณฑ์และบริการด้านเทคโนโลยีรวมถึงแนะนำโซลูชันที่ตอบโจทย์เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการธุรกิจ