การไขว่คว้าโอกาสของธุรกิจในยุคดิจิทัล นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และรับมือคู่แข่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เป็นหัวใจในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย การสื่อสารไร้สาย เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล การประสานการทำงาน ซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ โซลูชันวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล และอื่นๆ อีกมากมายมาประยุกต์ใช้งาน
ภัยไซเบอร์ ตัวการสั่นคลอนธุรกิจ
แต่ประสิทธิภาพเหล่านี้คงไร้ประโยชน์ หากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ เพราะโลกไซเบอร์เต็มไปด้วยภัยคุกคามทั้งมัลแวร์, ไวรัส, แฮกเกอร์, แรนซั่มแวร์, การฉ้อโกง, การรั่วไหลและขโมยข้อมูล ซึ่งสร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นของลูกค้า ชื่อเสียงขององค์กร ข้อมูลอันทรงคุณค่า เวลาและกำลังคนในการกู้คืนระบบ รวมถึงตัวเงินอีกด้วย
ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลงทุนจัดหาระบบรักษาความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Firewall, NAC, VPN, IPS, IDS, Internet Security, Email Security, Web Security, DDos Protection, Cloud Security, Malware Protection แต่นั่นหมายถึง การที่เราต้องจัดหาอุปกรณ์จำนวนมากจากหลายผู้ผลิต สิ่งที่ตามมาก็คือการดูแลและการบริหารจัดการก็จะยิ่งยุ่งยากขึ้น
การปฏิบัติตามกฏหมายดิจิทัล
นอกจากการรับมือกับภัยคุกคามและความยุ่งยากในการบริหารจัดการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแล้ว หนึ่งในประเด็นที่สร้างความกังวลและปวดหัวให้กับองค์กรในปัจจุบันก็คือ การต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับกฎหมายดิจิทัลทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ. การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์
พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งต่าง ๆ ก็มีบทลงโทษทั้งการปรับเป็นตัวเงินและโทษจำคุก ยิ่งทำให้องค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่หลากหลายและเป็นไปตามมาตรฐานยิ่งขึ้น
ต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรและเวลา
การจะรับมือความท้าทายเหล่านี้ ฝ่ายไอทีขององค์กรต้องรับบทหนักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณอาจต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และด้วยการจู่โจมของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นแบบไม่มีวันหยุด ฝ่ายไอทีขององค์กรยังต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่ จนอาจไม่มีเวลาในการคิดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่
การสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ องค์กรควรมีศูนย์ SOC หรือ Security Operation Center ทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยระบบเครือข่ายและระบบไอทีที่เกี่ยวข้อง เพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบและแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น ป้องกันภัยคุกคามแบบ Real time ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง
แต่การสร้างศูนย์ SOC ที่สมูรณ์แบบ คุณต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ความปลอดภัย ตรวจตรา เฝ้าดู วิเคราะห์ log จากอุปกรณ์มากมายในองค์กร ตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปรกติที่เกิดขึ้น รวมถึงกู้คืนระบบจากความเสียหาย ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนก้อนโต
จะดีกว่าไหมถ้ามีผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่เหล่านี้แทนคุณ
DCS มืออาชีพด้าน Cyber Security
นี่จึงเป็นที่มาของ DCS SOC as a Service บริการศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นความร่วมมือของบริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (DCS) และบริษัท Acer Cyber Security (ACSI)
ด้วยประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบไอทีและระบบรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยมายาวนานมากกว่า 30 ปี ของ DCS ผสานกับความรู้ความเชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับชาติมมากว่า 16 ปี ของ ACSI
ทำให้บริการ SOC as a Service พร้อมที่จะช่วยดูแลความปลอดภัย เพื่อป้องกันภัยคุกคามแบบ Real time ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกระบวนการทำงานที่ได้มาตรฐาน และทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์
ประกอบด้วยบริการระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจรต่าง ๆ ได้แก่
Security Monitoring การเฝ้าระวัง ตรวจจับ และจัดการกับภัยคุกคามแบบ Real time
Log Management บริการจัดการข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทั้งหมดในองค์กร
Incident Respond การสนองตอบและสืบหาที่มาของเหตุการณ์ผิดปรกติที่เกิดขึ้นในระบบ รวมถึงหาโซลูชันแก้ไข
Pentest การตรวจหาช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย
VA (Vulnerability Assessment) การประเมินความเสี่ยงจากช่องโหว่ที่พบ
Recovery การกู้คืนระบบจากความเสียหาย
Consult บริการให้คำปรึกษาด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
เพื่อให้ธุรกิจในยุคดิจิทัลดำเนินไปอย่างราบรื่น
เพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบและแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น
และช่วยลดภาระให้องค์กร