Breaking News
Home / Tech Insight / เอ็นทีที เผยรายงานล่าสุด ชี้บทบาทของ Smart Sourcing ท่ามกลางความท้าทายของธุรกิจยุคใหม่

เอ็นทีที เผยรายงานล่าสุด ชี้บทบาทของ Smart Sourcing ท่ามกลางความท้าทายของธุรกิจยุคใหม่

ในช่วงเวลาที่หลายองค์กรกำลังเผชิญกับความท้าทายในการพลิกฟื้นธุรกิจจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อโควิด 19 ผู้ให้บริการต่างๆ ได้ประกาศถึงการเพิ่มความสามารถในการให้บริการ จากรายงาน Global Managed Services ปี 2020 (NTT Ltd.’s 2020 Global Managed Services Reportของบริษัท เอ็นทีที จำกัด  ได้ชี้ถึงเอกสารรับรองความปลอดภัยซึ่งเป็นพื้นฐานของ Smart Sourcing โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และความสามารถในการส่งมอบการให้บริการตามเป้าหมายของธุรกิจ

ในขณะที่องค์กรต่างๆ พยายามมองหากลุ่มผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ไปจนถึงอีก 18 เดือนข้างหน้าความสามารถในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่รวดเร็วผ่านเทคโนโลยีที่ครอบคลุมต่อความต้องการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นการใช้งานระบบ Cloud, Network, Data Center, Security และอื่นๆ ทั้งความสามารถเชิงลึกและเชิงกว้าง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้อย่างเข้มแข็งสำหรับช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง

ในรายงานระบุว่า

·        การลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ไม่เพียงแต่เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ทีม IT ทั่วโลกต้องเผชิญ แต่ยังเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ให้บริการต้องคำนึงถึง

·        ร้อยละ 48 ของผู้นำองค์กรได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 1

·        ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักของการเลือกผู้ให้บริการที่ตอบสนองความต้องการด้านระบบ Cloud และ Security ได้

เพื่อให้องค์กรพลิกฟื้น และปรับตัวกับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน Smart Sourcing ได้มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ บริการดังกล่าวแตกต่างจากบริการ Outsourcing รูปแบบเดิม โดย Smart Sourcing ได้มุ่งเน้นการคัดเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสมไม่เพียงแต่การให้บริการตามกลยุทธ์ของ IT แต่ Smart Sourcing ยังเน้นไปถึงการให้บริการตามเป้าหมายของธุรกิจ

ระบบความปลอดภัย หัวใจสำคัญพลิกฟื้นธุรกิจ

รายงานระบุว่า ร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีความเห็นว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเป็นความท้าทายอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการระบบ IT ภายในองค์กร จากสถานการณ์วิกฤตการณ์โควิด 19 ในปัจจุบัน คาดกันว่า สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความเห็นเดียวกันนี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลายองค์กรประสบปัญหาในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามที่มีความซับซ้อน และรุนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจที่องค์กรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55) ได้หันมาใช้บริการจากผู้ให้บริการเพื่อช่วย “ลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย” ซึ่งเป็นบริการที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด

จากการที่ความปลอดภัยต่อธุรกิจเป็นเรื่องที่หยิบยกขึ้นมาพูดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการเข้าถึงระบบจากระยะไกล (Remote) มีการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับเพิ่มขึ้นของการนำอุปกรณ์ IT ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน (BYOD : Bring You Own Device) ภัยคุกคามจึงอาศัยช่องโหว่จากการทำงานจากบ้าน (Working from Home) มายังเครือข่ายที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ยังไม่เพียงพอ รายงานจาก  NTT’s April 2020 Monthly Threat Report ระบุว่า ภัยคุกคามต่าง ๆ เช่น สแปม (Spam), ฟิชชิง (Phishing) และมัลแวร์ (Malware) มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด 19

การลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตั้งคำถามอีกต่อไป เนื่องจากระบบดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งของSmart Sourcing ระบบรักษาความปลอดภัยนี้จึงได้ถูกจัดให้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ธุรกิจใช้ในการเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการ ร้อยละ 32 ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ยกให้ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่สำคัญสูงที่สุด รองลงมาร้อยละ 30 ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร และอีกร้อยละ 29 สำหรับประสิทธิภาพและavailability ของระบบที่ดีขึ้นผลการสำรวจยังระบุว่าร้อยละ 84 ขององค์กรเชื่อว่าพันธมิตรที่ให้บริการ Managed Services สามารถให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยได้ต่อไปอีก 3-5 ปี (โดยที่ร้อยละ 44 เชื่อว่าพันธมิตรจะให้บริการได้อย่างแน่นอน)[1]

Damian Skendrovic รองประธานบริหาร Managed Services Go-to-market บริษัท เอ็นทีที จำกัด กล่าวว่า ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้องค์กรต่างๆ มีการปรับตัวและให้ความสำคัญต่อระบบรักษาความปลอดภัยทั้งการตอบสนองเริ่มต้น และกลไกในการแก้ไขปัญหา ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องการมากกว่าคู่ค้า แต่พวกเขาต้องการพันธมิตรเพื่อช่วยในการจัดการสิ่งต่างๆให้ดำเนินการไปได้ด้วยดี ผู้ให้บริการจึงต้องช่วยให้พวกเขาปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้ และยังต้องช่วยให้พวกเขาพลิกฟื้นกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

ปรับเป้าหมาย เน้นปรับเปลี่ยนให้กับผู้ใช้งาน

ในช่วงเวลาที่หยุดชะงัก เช่น การระบาดของเชื้อโควิด 19 ที่กระจายไปทั่วโลก ทำให้หลายองค์กรต้องชะลอ หรือหยุดโครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ไว้ชั่วคราว แต่กระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ยังต้องดำเนินต่อไป หลายองค์กรได้มุ่งเน้นไปที่การทำงานของพนักงาน รายงานระบุว่าร้อยละ 48 ขององค์กร[2] เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

ผู้บริหารระดับสูงสนใจว่าพนักงานของพวกเขาสามารถเชื่อมต่อเข้ามายังระบบอย่างปลอดภัย มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจที่ระบุว่า ร้อยละ 43 ได้ยกให้ SD WAN เป็นเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้เป็นลำดับแรก ซึ่งเทคโนโลยี SD WAN นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ต่อการใช้งานระบบ โดยการยกระดับให้องค์กรมีข้อมูลทรัพย์สิน IT และข้อมูลการใช้งานระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น

ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นขององค์กรที่ต้องการใช้บริการ Outsourcing จากภายนอกแทนการบริหารจัดการเอง โดยคาดว่าจะสูงขึ้นเป็นสองเท่าจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 45 ในอีก 18 เดือนข้างหน้า

ความเชี่ยวชาญ สร้างแต้มต่อการบริการ

ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมากที่องค์กรใช้กันมาอย่างยาวนานในการพิจารณาเลือกผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการที่มีความรู้ความชำนาญมักจะถูกได้รับเลือก ในการเลือกผู้ให้บริการ องค์กรต่างๆ[3] ได้ให้ความสำคัญไปที่ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคร้อยละ 44 และความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมร้อยละ 30

โดยเฉพาะการใช้บริการจากผู้ให้บริการในด้านความเชี่ยวชาญด้านระบบ Cloud (ร้อยละ 73) และความเชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัย (ร้อยละ 53%) ในปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 77 และ ร้อยละ 64 ในอีก 18 เดือนข้างหน้านี้ตามลำดับ

ระดับความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการเป็นอีกสิ่งหนึ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ของการให้บริการ smart sourcing เนื่องจากทีม IT ขององค์กรต้องการแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถช่วยผลักดันธุรกิจขององค์กร ผู้ให้บริการสามารถเข้ามาช่วยทีม IT ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโดยการทำงานร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

รายงานได้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจของทีม IT โดยที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีผลต่อการตัดสินใจของทีม IT ภายใน 12 เดือนมากที่สุด (ร้อยละ 54) รองลงมาคือการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ข้อบังคับ (ร้อยละ 51) การเติบโตในตลาดใหม่ (ร้อยละ 48) และการขาดทักษะความชำนาญ (ร้อยละ 47) ตามลำดับ

Skendrovic ได้สรุปว่า “ธุรกิจจะสามารถเติบโตในสถานการณ์ที่ยากลำบากไปสู่ New Normal ได้ด้วยพลังของการมีพันธมิตรที่เหมาะสม งานวิจัยของเอ็นทีทีได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์คือสิ่งที่สำคัญ และมีประโยชน์ที่สำคัญมากมาย เมื่อนำมาใช้อย่างถูกต้องและมั่นคงแล้วจะช่วยป้องกันให้องค์กรยังมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และในยุคของการเปลี่ยนผ่านนี้จะต้องมีการจัดการอย่างชาญฉลาดเพื่อให้บริการใหม่ๆให้กับผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบจากทางไกลได้ ซึ่งเป็นหัวใจของธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมในยุคนี้”

รายงาน Global Managed Services ปี 2020 ของบริษัท เอ็นทีที จำกัด จัดทำขึ้นโดยอาศัยผลการวิจัยของ IDG ที่ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารองค์กรธุรกิจและผู้บริหารด้าน IT จำนวน 1,250 คน จาก 29 ประเทศ ใน 5 ภูมิภาค โดยรายงานดังกล่าวได้รวบรวมรายงานการวิจัยอื่น ๆ ของเอ็นทีทีเข้ามาประกอบด้วย อาทิ

451 Research – Global crystal ball study 2019

NTT Ltd.’s Customer Experience Benchmarking Report 2020

NTT Ltd.’s Digital Means Business Benchmarking Report 2019

NTT Ltd.’s April 2020 Monthly Threat Report

NTT Ltd.’s Risk Value Report 2019

NTT Ltd.’s Global Threat Intelligence Report 2019

Check Also

TERA เปิดตัวการให้บริการ T.Cloud Gen3 ที่สุดแห่งบริการคลาวด์โดยคนไทย พร้อมเปิดให้บริการแล้ววันนี้

บริษัท เทอร์ราไบท์ พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ “TERA” เปิดตัวการให้บริการ T.Cloud Generation ที่ 3 (T.Cloud Gen3) ที่สุดแห่งบริการคลาวด์แบบอัจฉริยะของคนไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่องค์กรภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ต่อยอดสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างแท้จริง