FWD ประกันชีวิต นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านระบบเสียงอัจฉริยะกับแคมเปญ “Talkable Bus Shelter ป้ายรถเมล์พูดได้” โดยออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็นได้ใช้ชีวิตประจำวันในการเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยติดตั้งระบบใน 10 ป้ายรถเมล์บริเวณสถานที่ที่ผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็นใช้เป็นประจำ ครอบคลุมเส้นทางการเดินรถเมล์ 46 สาย เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมอย่างยั่งยืน และทุกคนได้ใช้ชีวิตในแบบที่ชอบได้โดยไม่ต้องกังวล
นางสาวปวริศา ชุมวิกรานต์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“FWD ประกันชีวิต”) กล่าวว่า FWD ประกันชีวิต ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนให้เกิดความหลากหลาย และเท่าเทียม พร้อมเคารพทุกความแตกต่างในสังคม เราได้ทำงานต่อจากปีที่ผ่านมาในโครงการ “Insurance for all” ครั้งนี้เราได้ศึกษาข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ด้านคนพิการทางการมองเห็นในประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) ประเทศไทยมีผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 184,622 คน ที่มีการเดินทางเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน รวมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็นภายใต้การดูแลของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทำให้เราพบว่า ผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็นส่วนใหญ่เลือกใช้การเดินทางประจำวันด้วยรถโดยสารประจำทาง แต่ปัญหาสำคัญคือ มักจะพลาดรถประจำทางสายที่ต้องการ เนื่องจากไม่สามารถรับรู้ถึงสายรถประจำทางที่ต้องการได้อย่างชัดเจน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ FWD ประกันชีวิต จัดทำโครงการ “The Talkable Bus Shelter” ที่นำเอาเทคโนโลยีผสานความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาป้ายรถเมล์พูดได้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มีความจำกัดทางมองเห็นสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้อย่างสะดวก และสามารถเตรียมตัวเพื่อขึ้นรถโดยสารได้อย่างปลอดภัย และไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้อย่างปลอดภัย
“The Talkable Bus Shelter ป้ายรถเมล์พูดได้” เป็นการนำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับหลักการทำงานเรื่องคลื่นเสียง เพื่อสร้าง “ระบบเสียงอัจฉริยะ” ที่ทำงานโดยการนำเทคโนโลยี GPS ที่ติดตั้งบนรถประจำทางและป้ายรถประจำทางอัจฉริยะ เมื่อรถประจำทางกำลังเทียบท่าหรือกำลังออกจากป้ายรถเมล์ ระบบเสียงจะแจ้งหมายเลขรถโดยสารคันดังกล่าว โดยระบบเสียงนั้น ใช้หลักการคลื่นเสียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับความสามารถทางการได้ยินของผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็น โดยมีความดังระหว่าง 70-80 เดซิเบล และคลื่นเสียงระหว่าง 1,000-4,000 เฮิร์ซ เพื่อเตือนให้ผู้มีความจำกัดทางการมองเห็นทราบถึงรถโดยสารที่กำลังจะมา และเตรียมตัวเดินทางนอกจากนี้ การใช้ระดับเสียงที่สม่ำเสมอสำหรับสัญญาณเสียง และการเตือน สามารถช่วยให้ผู้ที่มีความจำกัดทางการมองเห็น ระบุ และแยกแยะระหว่างเสียงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น FWD ประกันชีวิต จึงได้ออกแบบเสียงประกาศพิเศษ โดยออกเเบบให้แตกต่างทั้ง 46 เส้นทางรถ* เพื่อประสิทธิภาพในการจดจำหมายเลขรถประจำทางได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยใน “The Talkable Bus Shelter ป้ายรถเมล์พูดได้” จะได้รับการติดตั้งและให้บริการใน 10 ป้ายรถเมล์ตามสถานที่ต่างๆ ที่เป็นจุดที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณหน้าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ตรงข้ามวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก โรงพยาบาลรามาธิบดี องค์การเภสัชกรรม สวนจตุจักร ตรงข้ามสวนจตุจักร ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (ฝั่งหน้าพระตรีมูรติ และฝั่งหน้า Apple Store) บิ๊กซี ราชดำริ ฟอร์จูนทาวน์ และซอยศูนย์วิจัย (เพชรบุรี) โดยเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป“ความตั้งใจของแคมเปญนี้คือ การสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะผู้มีความจำกัดทางการมองเห็น เราหวังว่าประสิทธิภาพของ The Talkable Bus Shelter ป้ายรถเมล์พูดได้” จะตอบโจทย์ของผู้มีความจำกัดทางการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ เพื่อที่จะได้ออกไปใช้ชีวิตในแบบที่ชอบได้โดยไม่ต้องกังวล” นางสาวปวริศา กล่าวทิ้งท้าย
______________________________
*รถประจำทาง 46 เส้นทางที่เข้าร่วมโครงการ Talkable Bus Shelter ป้ายรถเมล์พูดได้
1. สาย 2 สำโรง – ปากคลองตลาด
2. สาย 3 อู่กำแพงเพชร – คลองสาน
3. สาย 11 เมกา บางนา / ประเวศ – เอ็มบีเค เซ็นเตอร์
4. สาย 12 ห้วยขวาง – ปากคลองตลาด
5. สาย 13 คลองเตย – ห้วยขวาง
6. สาย 18 ตลาดท่าอิฐ – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7. สาย 23 สำโรง / เมกา บางนา – เทเวศร์
8. สาย 26 มีนบุรี – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
9. สาย 34 รังสิต – หัวลำโพง
10. สาย 39 ตลาดไท – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
11. สาย 54 (วงกลม) อู่พระราม 9 – ห้วยขวาง – ดินแดง
12. สาย 59 รังสิต – สนามหลวง
13. สาย 60 สวนสยาม – ปากคลองตลาด
14. สาย 63 MRT พระนั่งเกล้า – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
15. สาย 67 วัดเสมียนนารี / สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – เซ็นทรัล พระราม 3
16. สาย 72 คลองเตย – เทเวศร์
17. สาย 73 สวนสยาม – สะพานพุทธ
18. สาย 76 แสมดำ – ประตูน้ำ
19. สาย 77 เซ็นทรัลพระราม 3 – หมอชิต 2
20. สาย 79 อู่บรมราชชนนี – ราชประสงค์
21. สาย 93 หมู่บ้านนักกีฬา – สี่พระยา
22. สาย 96 มีนบุรี – หมอชิต 2
23. สาย 97 กระทรวงสาธารณสุข – รพ.สงฆ์
24. สาย 134 บัวทองเคหะ – หมอชิต 2
25. สาย 136 คลองเตย – หมอชิต 2
26. สาย 137 (วงกลม) รัชดาภิเษก – รามคำแหง
27. สาย 138 อู่ราชประชา / ท่าน้ำพระประแดง – หมอชิต 2
28. สาย 145 ปากน้ำ / เมกา บางนา – หมอชิต 2
29. สาย 179 อู่พระราม 9 – พระราม 7
30. สาย 185 รังสิต – คลองเตย
31. สาย 204 ห้วยขวาง – ท่าน้ำราชวงศ์
32. สาย 206 เมกา บางนา – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
33. สาย 502 มีนบุร – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
34. สาย 503 รังสิต – สนามหลวง
35. สาย 505 ปากเกร็ด – สวนลุมพินี
36. สาย 509 อู่บรมราชนนี – หมอชิต 2
37. สาย 510 มธ.ศูนย์รังสิต – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
38. สาย 511 ปากน้ำ – สายใต้ใหม่ (ตลิ่งชัน)
39. สาย 514 มีนบุรี – สีลม
40. สาย 515 ศาลายา – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
41. สาย 536 ปากน้ำ – หมอชิต 2
42. สาย 3-26E สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ – รพ.รามาธิบดี
43. สาย 4-70E ศาลายา – หมอชิต
44. สาย A1 สนามบินดอนเมือง – หมอชิต
45. สาย A2 สนามบินดอนเมือง – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
46. สาย A3 สนามบินดอนเมือง – สวนลุมพินี
ข้อจำกัดระบบการทำงานของ GPS และป้ายรถประจำทาง
1. รถโดยสารประจำทางที่ไม่ได้ติดตั้งระบบ GPS ที่เชื่อมต่อกับ 10 สถานที่บริเวณป้ายรถประจำทางจะไม่มีเสียงประกาศ คือ รถร่วม ขสมก. และรถโดยสารประจำทางสายที่มี (TSB) ที่เดินรถในเส้นทางเดียวกัน ได้แก่ 2 (TSB), 14, 17, 74, 77 (TSB), 504, 3-53, 3-54, 2-34, 8, 12 (TSB), 18 (TSB), 28, 97 (TSB), 108, 515 (TSB), 538, 539, 3-55, 29, 44, 2-34, 97 (TSB), 529E, 11 (TSB), 69 ,69E, 113, 3-44, 34 (TSB), 39 (TSB), 52, 90, 104, 122, 524, 2-17, 2-34 ** TSB ไทยสมายล์บัส: รถปรับอากาศสีน้ำเงินเข้ม
2. กรณีรถโดยสารประจำทางมีการเปลี่ยนเส้นทางกะทันหัน ระบบจะทำการปรับเส้นทางให้ถูกต้องตามเส้นทางการเดินรถด้วยระบบ AI ที่ตรวจจับลักษณะเส้นทางการเดินรถอัตโนมัติ หากระบบไม่สามารถจับเส้นทางได้ ระบบจะตัดรถคันนั้นออกจากเส้นทาง และไม่ประกาศเสียงรถคันนั้น
3. สัญญาน GPS สามารถดีเลย์ได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี GPS โดยสัญญานของ GPS อาจมีการดีเลย์จากความเป็นจริง ซึ่งส่งผลกับการประกาศเสียงที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการประกาศ หรือเสียงถูกตัดเนื่องจากรถผ่านศาลาโดยสารไปแล้ว กรณีความแม่นยำของตำแหน่ง GPS ผิดจากความเป็นจริง เช่น ตำแหน่งรถเข้าห้าง ออกนอกถนน หากความแม่นยำไม่เพียงพอระบบจะตัดรถคันนั้นออกจากระบบประกาศเสียง
เทคโนโลยีที่ส่งผลให้ระบบเสียงอัจฉริยะมีความแม่นยำ
สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการจราจร มีการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อช่วยในการระบุสภาพการจราจรบนท้องถนนที่รถโดยสารวิ่ง ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ร่วมกับข้อมูลสถิติการจราจรกว่า 4 ปี ผนวกกับข้อมูล Real-time จากข้อมูลพิกัดตำแหน่งรถยนต์สาธารณะต่างๆ ที่วิ่งบนท้องถนน ทำให้สามารถระบุการจราจรได้แบบ Real-time การระบุความหนาแน่นของจราจรมีตั้งแต่ ดำ แดงเข้ม แดง ส้ม เหลือง เขียว และเขียวอ่อน เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การประกาศเสียง สามารถประกาศได้ต่อเนื่องตามความหนาแน่นของการจราจรบนท้องถนน เช่น หากรถติดมากเสียงจะประกาศเมื่อรถใกล้มาถึงศาลาโดยสารมากๆ หากมีการจราจรติดขัดปานกลางเสียงจะประกาศในระยะหนึ่งก่อนที่รถจะเข้าจอดที่ศาลาโดยสาร เป็นต้น ในกรณีที่เกิดเหตุผิดปกติหรือรถติดมากและรถยังคงกำลังเข้าศาลาโดยสาร สัญญาณเสียงจะมีการประกาศทุกๆ 3 นาที เพื่อเป็นการบอกผู้โดยสารว่ารถยังคงกำลังเข้าศาลาโดยสารนั้นๆ