ปัจจุบัน การสร้างอาชีพถือเป็นบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ “การบริหารจัดการเงินทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมพลังคนพิการ มุ่งส่งเสริมสังคมแห่งความเท่าเทียม” โดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ถือเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้คนพิการเข้าถึงการสร้างอาชีพ ลดภาระในสังคม สร้างอาชีพที่ยั่งยืนสู่คนพิการ ในการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนพิการต้องการให้คนพิการมีงานทำและรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีส่วนร่วมทางสังคม และสามรถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป
โดยกระทรวง พม. มีเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทั้งหมด 9,547 คน จะต้องดำเนินการรับคนพิการเข้าทำงานให้ครบตามสัดส่วน จำนวน 95 คน ซึ่งได้ดำเนินการรับ คนพิการตามมาตรา 33 จำนวน 124 คน และมาตรา 35 จำนวน 31 คน รวมแล้วในปี 2567 รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และมาตรา 35 จำนวน 155 คน
สำหรับเรื่องของข้อจำกัดและอุปสรรคหรือแม้กระทั้งเรื่องของการบูลลี่คนพิการในสังคม พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากทัศนคติและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการเพราะเรื่องของทัศนคติเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจว่าคนพิการก็เป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพเท่าเทียมกับคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งการเข้าไปเติมเต็ม และอำนวยความสะดวกคนพิการ ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ การเปลี่ยนแปลงเชิงทัศนคติในการทำงานเกี่ยวกับคนพิการและความพิการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องสื่อสารอย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็น Soft power ในการเปลี่ยนแปลง Mind set ที่จะมี Impact อย่างมากในทุกมิติ
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาการผลักดันสร้างอาชีพสำหรับคนพิการในสถานประกอบการต้องมีความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการ และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับคนพิการ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และช่วยสนับสนุนให้คนพิการสามารถเข้าถึงอาชีพและสถานประกอบการได้อย่างเท่าเทียม
นายโชคชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปพร้อมกัน เพราะเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างกระทรวง พม. โดย พก. กับคนพิการและประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้สังคมได้เห็นถึงความสามารถของคนพิการ สร้างความรู้ความเข้าใจ และการปรับภาพลักษณ์ด้านความคิดของสังคมที่มีต่อคนพิการ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการตั้งเป้าหมายให้นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการถูกต้องและครบถ้วนทุกแห่ง